TKP HEADLINE

(ตัวอย่าง)การสู่ขวัญข้าว จังหวัดน่าน



การสู่ขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ชาวนาตำบลน้ำพางนั้นปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาหลังจากเก็บเกี่ยวขึ้นสู่ยุ้งฉางข้าว และเป็นการบูชาพระแม่โพสพที่คอยช่วยป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ที่จะมาทำลายข้าวในนา และนอกจากนี้นั้นยังเป็นความเชื่อของชาวนาว่าการบูชาพระแม่โพสพนั้นจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป โดยเครื่องพิธีจะมีไก่และเครื่องสังเวยแก่พระแม่โพสพ ที่ช่วยให้ได้ทำให้ข้าวได้ผลผลิตเป็นที่พอใจ แต่ถ้าหากเป็นพิธีสู่ขวัญข้าวแบบใหญ่ โดยส่วนมากแล้วเจ้าของจะไม่ได้กล่าวคำสังเวยได้ด้วยตัวเองจึงต้องขออาจารย์ประจำหมู่บ้านเป็นผู้โอกาสให้ โดยจะทำหลังฤดูเก็บเกี่ยว ศึกษาเพิ่มเติม

(ตัวอย่าง)อุทยานแห่งชาติขุนสถาน จังหวัดน่าน


อุทยานแห่งชาติขุนสถาน เป็นพื้นที่ที่ได้สำรวจจากป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่ อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน พื้นที่ 285,826 ไร่ ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ชนิดต่างๆ คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง สัตว์ที่พบเห็นได้แก่สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ นก ปลา แมลงชนิดต่างๆ ศึกษาเพิ่มเติม

(ตัวอย่าง)สวนเกษตรอินทรีย์ป๋านึก นางสาวรัตติกาล สายยาโน


สวนเกษตรอินทรีย์ที่เกิดจากความมานะอุตสาหะโดยแท้ ป๋านึกใช้เวลานานกว่า 10 ปีในการเปลี่ยนสภาพดินที่เป็นสีขาวเพาะปลูกอะไรก็ไม่ได้ผลมาเป็นดินที่ดีจนมีสวนขนาดใหญ่สร้างรายได้อย่างงดงามอย่างทุกวันนี้ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และความอดทน ที่นี่มีมะนาวหลายต้น มีมะพร้าวมากมาย และผักสวนครัวหลายแปลงปลูกผักสำหรับจะกินเป็นอาหาร เป็นสวนผสมผสานขนานแท้ มะพร้าวที่นี่ต้นไม่สูงแต่ถ้ามองขึ้นไปจะเห็นว่ามีลูกมะพร้าวดกมากๆ พี่อุ้มเก็บมะพร้าวมาเปิดให้เรากินสดๆ จากสวนหวานชื่นใจ แล้วยังมีน้ำมะนาวให้เราชิมสูตรเปรี้ยว และหวานอมเปรี้ยว หายเหนื่อยกันเรียบร้อยต้อนนี้พี่อุ้มก็จะลงมือสอนการทำลูกประคบจากสมุนไพรไม่กี่อย่างที่ปลูกเองที่สวนผสมกับการบูรที่ซื้อมาจากตลาดมามัดรวมกันเป็นลูกประคบกลมๆ ปกติลูกประคบแค่เอาใส่ห่อผ้าแล้วมัดให้แน่นก็ใช้ประคบได้แต่ถ้าจะแสดงฝีมือและความประณีตของเจ้าของต้องมีกระบวนการมัดที่สวยงามเพราะลูกประคบพอทำเสร็จแล้วมันสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน นอกจากประโยชน์จะเอามาประคบให้คลายปวดเมื่อยและผ่อนคลายกล้ามเนื้อแล้ว สมุนไพรที่ประกอบอยู่ในลูกประคบเอามาวางในห้องนอนทำให้หลับสบายได้ด้วย จะเอามาทำเป็นรายได้เสริมก็สบายมาก ศึกษาเพิ่มเติม

(ตัวอย่าง)ลานหีบอ้อยโบราณ


หีบอ้อยโบราณ ตำนานน้ำอ้อย บ้านป่าคาหมู่ 2 ตำบลบ่อสวก (Legendary Sweet Treat)
ชุมชนบ้านป่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อสวก ในอดีตเคยเป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตน้ำอ้อยที่สำคัญของจังหวัดน่าน เพราะในอดีตคนในชนบทจะบริโภคและใช้น้ำอ้อย แทนน้ำตาลทราย ทุกครอบครัวจะมีอาชีพปลูกอ้อย และแปรรูปน้ำอ้อยสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจากบรรพบุรุษ ด้วยสภาพของดินร่วนปนทรายและมีโปแต๊สเซี่ยมอยู่ในดิน เหมาะสมกับการปลูกอ้อยและทำให้อ้อยมีความหวาน เป็นพิเศษ ซึ่งในอดีตทุกครอบครัวจะมีหีบอ้อยโบราณ ที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็งและเหนียวทนทาน เช่น ไม้ประดู่ ที่ตัดมาทั้งลำต้น มาเหลา (กลึง) ด้วยขวาน พอได้ขนาดแล้วเจาะเป็นภู สลับกับร่องลึกลงในเนื้อไม้เพื่อเป็นแกนในการขับเคลื่อน จากการประกบกันของหีบอ้อย จำนวน 2 เลา (ต้น) ซึ่งในอดีตจะใช้ทั้งแรงงานคนในการหมุนหีบห้อยในขั้นตอนการหีบอ้อยเพื่อเอาน้ำอ้อยไปต้ม เพื่อเคี่ยวน้ำอ้อยให้เป็นก้อน ต่อมามีผู้ออกแบบทำหีบอ้อย จาก 2 เลา (ต้น) เป็น 3 เลา (ต้น) และฝึกให้กระบือ (ควาย) ในการหมุนหีบอ้อยโบราณ ดังกล่าวศึกษาเพิ่มเติม

(ตัวอย่าง)น้ำอ้อยบ้านป่าคา



ในอดีต “น้ำอ้อย”  ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการปรุงอาหารท้องถิ่นเมืองน่าน ใช้เพื่อให้รสชาดความหวาน เป็นของที่มีประโยชน์มากสำหรับครัวเรือน ใช้รับรองแขกผู้มาเยือน ใช้แลกเปลี่ยนผลผลิตกับบ้านใกล้เรือนเคียง และขาดไม่ได้ในการใช้ประกอบอาหารสำหรับงานบุญประเพณีสำคัญทางศาสนา เช่น งานนมัสการพระธาตุ (ขึ้นธาตุ) และถือเป็นขนมของฝากที่มีคุณค่ายิ่ง ปัจจุบัน ชุมชนบ้านป่าคา ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ยังคงสืบทอดการผลิตน้ำอ้อยจากบรรพบุรุษ เพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยวิถีพอเพียง ทั้งส่งจำหน่ายทั่วไปภายในชุมชนและภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดน่าน รวมทั้งเป็นของที่ระลึกที่นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนให้ความสนใจหาซื้อเป็นอย่างมาก ศึกษาเพิ่มเติม

(ตัวอย่าง)ภัยแล้งคืออะไร



ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน 2. สาเหตุของการเกิดภัยแล้งมีอะไรบ้าง สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

ศึกษาเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนยะลาเมืองนักวิทย์. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand